วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หัวข้อวิจัย รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์
เรื่องการบวก และการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดธรรมาราม
อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1

ผู้ดำเนินการ นางนงเยาว์ ด้วงช่วย
ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ประสิทธิ์ สังขมณี ผศ.ดร.แจ่มจันทร์ เพชรศิริ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดธรรมาราม อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ปีที่สำเร็จ 2550

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนานวัตกรรมฉบับนี้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน ได้พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สร้างนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สำหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน วัดธรรมาราม ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 18 คน ผลจากการศึกษาโดยใช้แบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยการหาค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ใช้ค่า IOC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความสามารถในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การประเมินความสามารถในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการประเมินแบบสอบถามเจตคติของนักเรียนใช้โปรแกรม SPSS For windows version 10
ผลการประเมินจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.5 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 93.33 / 94.72 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับมากที่สุด
เอกสารอ้างอิง

นงเยาว์ ด้วงช่วย. ( 2550). รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก และการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100. ตรัง :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 .


สิ่งที่ได้เรียนรู้
ทำให้ได้เรียนรู้ว่า การบวกและการลบจำนวนนับด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะช่วยสอนให้เด็กนักเรียนมีความเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น ดูได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.5 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 93.33 / 94.72 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับมากที่สุด และในการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ .

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูลและสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันดังนี้ ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพหรือเสียงที่ยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ นำมาผ่านกระบวนการประเมินผลให้เป็นสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานขององค์กร ด้านการวางแผน การตัดสินใจและการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำหน้าที่จัดเตรียมระบบสารสนเทศ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับข้อมูลเข้า(Input)การประมวลผล(Processing) และการส่งออก (Output) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานการผลิตสินค้าและบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
คุณสมบัติของข้อมูล/สารสนเทศที่ดี
1. มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2. สามารถตรวจสอบได้
3. ทันสมัย
4. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
5. มีความยืดหยุ่น
6. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
7. กะทัดรัด
8. ใช้งานง่าย
9. ประหยัด
10. สามารถเผยแพร่ได้
โครงสร้างของระบบสารสนเทศมีลักษณะคล้ายรูปปิรามิด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันในด้านการใช้สารสนเทศ ดังนี้
ระดับที่ 1 สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ระดับนี้มีฐานกว้างและแคบ แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ต้องการสารสนเทศที่ละเอียด เป็นการจัดเตรียมสารสนเทศเบื้องต้นเพื่อจัดทำรายงานให้ระดับสูง
ระดับที่ 2 สารสนเทศสำหรับวางแผนการปฏิบัติงาน เป็นสารสนเทศที่ละเอียดที่ผู้บริหารระดับต้นจะใช้เพื่อพัฒนางาน สนับสนุนการดำเนินงานประจำวัน(วางแผน ดำเนินงาน ตัดสินใจ) และควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ
ระดับที่ 3 สารสนเทศสำหรับวางแผนยุทธวิธี เป็นสารสนเทศที่สรุป ที่ผู้บริหารระดับกลางนำไปใช้เพื่อตัดสินใจและวางแผนระยะสั้น
ระดับที่ 4 สารสนเทศสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ เป็นสารสนเทศที่สรุปและมีความชัดเจนที่ผู้บริหารระดับสูงใช้สำหรับวิเคราะห์แนวโน้ม ตัดสินใจและวางแผนระยะยาว โครงสร้างของระบบสารสนเทศแบ่งตามกิจกรรมก็จะมีลักษณะคล้ายรูปปิรามิดเหมือนกัน องค์กรที่มีกิจกรรมการทำงานต่างกันก็จะมีความต้องการสารสนเทศที่ต่างกัน ระดับล่างจะมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ระดับสูงการปฏิบัติกิจกรรมเป็นลักษณะการวางแผนและบริหารงานทั้งองค์กร โดยนำสารสนเทศจากระบบงานย่อยๆ ในระดับล่างมาช่วยตัดสินใจ โดยมีฐานข้อมูลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบงานย่อย ๆ ซึ่งแบ่งสารสนเทศตามกิจกรรมของหน่วยงานได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลรายการ
2. สารสนเทศเพื่อการดำเนินการ
3. สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การไหลเวียนของสารสนเทศเป็นการนำสารสนเทศที่ไหลเวียนอยู่ในระบบเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ทั้งแนวดิ่ง ทุกระดับในองค์กร และแนวระดับจากระบบงานย่อย ยกเว้นระดับ 1 สารสนเทศจะไหลเวียนแนวเดียวคือแนวดิ่ง มีประโยชน์เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์กร สารสนเทศถือเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญขององค์กร มีความจำเป็น/ประโยชน์ต่อการบริหารงานด้านการวางแผน การดำเนินงานและการตัดสินใจ ดังนั้นต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544-2553 ได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2550-2554 กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานสากล กำหนดพันธกิจและยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา และผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและทิศทางการศึกษาจะต้องเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารต้องพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาช่วยในการจัดการศึกษา และต้องส่งเสริมให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา การจัดการศึกษารูปแบบเดิมจะจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน มีครูทำหน้าที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียน โดยใช้สื่อประกอบการสอน นักเรียนต้องเข้าเรียน การจัดการศึกษาถึงจะเกิดขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ สะดวก รวดเร็ว กว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้/เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาตามความสนใจและความถนัด สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การศึกษาทางไกล (Distance Learning) การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ (Video Conference) ระบบการเรียนแบบออนไลน์ (e-Learning) ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided-Instruction : CAI) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดีของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมที่เครื่อง
2. สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาทั่วโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. มีความเสี่ยงของข้อมูลสูง (ปลอดภัยน้อย)
2. ประสิทธิภาพของโปรแกรมด้อยกว่า
ข้อดีของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. มีความเสี่ยงของข้อมูลน้อย (ปลอดภัยสูง)
2. ประสิทธิภาพของโปรแกรมดีกว่า
3. การใช้งานง่ายและเร็วกว่าเพราะติดตั้งบนเครื่องของตนเอง
ข้อเสียของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. ต้องติดตั้งโปรแกรมที่เครื่อง ทุกเครื่องเมื่อต้องการใช้งาน
2. ใช้งานได้เฉพาะเครื่องนั้น ๆ
3. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโปรแกรม

ภาพประทับใจ


รูปภาพนี้ก็เป็นอีกรูปที่ดิฉันประทับใจ เป็นภาพที่ไปศึกษาดูงาน“โครงการฝึกอบรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาดูงานแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออก “ ที่จังหวัดจันทบุรี เช่นเดียวกับรูปภาพข้างบนนี้ หลังจากที่เราไปศึกษาดูงานที่จังหวัดจันทบุรีแล้ว เราได้ไปดูเรือจักรีนฤเบศณ์ ที่จังหวัดชลบุรีต่อ ทำให้เราได้รู้ว่าบนเรือลำนี้มีกลไกในการทำงานอย่างไรบ้าง ทหารเรือเขาได้แสดงการทำงานของเรือลำนี้ให้คนที่เข้าไปชมเรือทุกคนได้ดู นอกจากคนไทยที่จะให้ความสำคัญกับเรือลำนี้แล้ว ยังมีต่างชาติที่เล็งเห็นความสำคัญของเรือลำนี้เช่นกัน ทุกคนที่ได้เห็นเรือลำนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเรือที่สวยงามมาก และยังเป็นเรือที่มีความสัมคัญต่อประเทศชาติด้วยเหมือนกัน .





ดิฉันมีความประทับใจกับภาพรูปนี้ เพราะว่ารูปนี้เป็นรูปที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าเป็นการศึกษาดูงานเกี่ยวกับ “โครงการฝึกอบรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรผสมผสาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาดูงานแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออก “ ที่จังหวัดจันทบุรี ไปกันทั้งองค์กร ทุกคนพยายามทำหน้าสวยกันอย่างเต็มที่ไม่มีใครยอมแพ้ใคร ทั้งหมดที่เห็นนี้เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าหมดทุกคน เริ่มจากทางด้านซ้ายมือคนแรกคือ คุณรัศมี เศษสุวรรณ นักวิชาการศึกษา คนที่ 2 คุณนันดา เขียมทรัพย์ ครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย คนที่ 3 คุณนุชนาถ จันทร์นาค เจ้าหน้าที่ธุรการ คนที่ 4 คุณอำพร บุญเติม ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล คนที่ 5 คุณอุไร อุทธา ครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย คนที่ 5 คุณศศิธร อารมย์ดี ครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย คือตัวดิฉันเอง การไปดูงานในครั้งนี้มีความสนุกสนานกันทุกคน นอกจากความสนุกสนานแล้วเรายังได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วยค่ะ.

ประวัติ

สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวศศิธร นามสกุล อารมย์ดี
ชื่อเล่น เอ๊ะ
เกิด 29 สิงหาคม 2522 อายุ 30 ปี
ที่อยู่ 38 หมู่ 8 ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
อาชีพ ครูอนุบาลและปฐมวัย
ที่ทำงาน โรงเรียนวัดตาลกง(ธรรมศรียาทร)
ต้นสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า